 ประวัติโรงเรียนโดยย่อ
โรงเรียนอนุบาลบ้านผือพิทยาภูมิ เดิมชื่อโรงเรียนชุมชนบ้านผือพิทยาภูม ตั้งขึ้น เมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๕ อาศัยเรียนที่ศาลาวัดลุมพลีวันบ้านถ่อน ตำบลบ้านผือ อำเภอบ้านผือ เดิมชื่อว่าโรงเรียนประจำอำเภอ (วัดลุมพลีวัน) ดำรงอยู่ด้วยเงินศึกษาพลี นายพรมมี ไชยสว่าง ทำหน้าที่ครูใหญ่คนแรก เปิดทำการสอนตามหลักสูตรประถมศึกษาของกระทรวงธรรมาการในสมัยนั้น วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๒ ทางราชการได้อนุมัติเงินศึกษาพลี จำนวน ๔๙,๐๐๐ บาท ให้จัดสร้างอาคารเรียนเป็นเอกเทศ โดยร้อยตำรวจเอก ขุนวิจิตร นราภิบาล ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่ง นายอำเภอบ้านผือ ได้จัดซื้อที่ดินจาก นายแดง พนมรัตน์ มีเนื้อที่ประมาณ ๒๐ ไร่ เป็นเงิน ๘๐ บาท ที่บ้านหัวคูหมู่ที่ ๑ (ปัจจุบันเป็นหมู่บ้านศรีสะอาด หมู่ที่ ๑๐ ตำบลบ้านผือ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี) เป็นที่ปลูกสร้างอาคารเรียน และต่อมาได้จัดซื้อที่ดินข้างเคียง เพิ่มอีก ๑ ไร่ เป็นเงิน ๑๕ บาท อาคารเรียนหลังแรกจึงสร้างได้สำเร็จ
วันที่ ๑ เมษายน ๒๔๗๓ ได้ย้ายสถานที่เรียนจากศาลาวัดลุมพลีวัน มาเรียนที่อาคารหลังแรกเป็นอาคารเรียนเอกเทศ ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงเรียนปัจจุบันใช้ชื่อว่าโรงเรียนบ้านผือ (บ้านผือพิทยาภูมิ)
พ.ศ. ๒๕๑๐ ได้รับงบประมาณ ๒๕๐, ๐๐๐ บาท สร้างอาคารเรียนแบบ ๐๐๘ ของกรมสามัญศึกษาขนาด ๘ ห้องเรียน
พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้รับงบประมาณสร้างบ้านพักครู ๑ หลัง
พ.ศ. ๒๕๑๙ ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ ป. ๑ ซ. ๔ ห้องเรียน
พ.ศ. ๒๕๒๐ ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนบ้านผือ (บ้านผือพิทยาภูมิ) เป็นโรงเรียนชุมชนบ้านผือพิทยาภูมิ ตามโครงการเข้าร่วมพัฒนากับชุมชน
พ.ศ. ๒๕๒๗ ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเอนกประสงค์ แบบ สปช. ๒๐๕ เป็นเงิน ๘๒๒,๐๐๐ บาท
พ.ศ.๒๕๒๙ ได้รับงบประมาณ ๘๐,๐๐๐ บาท สร้างส้วมแบบ สปช. ๖๐๒ จำนวน ๑ หลัง ๘ ที่
พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้รับงบประมาณ สร้างถังเก็บน้ำฝน ฝ.๓๓ ที่อาคารเด็กเล็ก ๑ ชุด เป็นเงินจำนวน ๕๐,๐๐๐ บาท และงบประมาณปรับปรุงรั้วด้านหน้า เป็นเงินจำนวน ๙๐,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๕๒ ได้รับงบประมาณ ๑,๖๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านหกแสนบาท ) สร้างอาคารเรียน แบบ สปช. ๒๐๕/๒๙ จำนวน ๑ หลัง ๔ ห้องเรียน
พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้รับงบประมาณ ๓๕๐,๐๐๐ บาท (สามแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) สร้างส้วมแบบสพฐ. ๔ จำนวน ๑ หลัง ๔ ที่
พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้รับงบประมาณซ่อมแซมบ้านพักครู จำนวน ๒ หลัง วงเงิน ๑๘๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนแปดหมื่นบาทถ้วน)
พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้รับงบประมาณปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียนอาคารประกอบการเงินงบประมาณ ๖๐,๐๐๐ บาท (หกหมื่นบาทถ้วน)
พ.ศ. ๒๕๕๖ ได้รับงบประมาณก่อสร้างส้วม สพฐ.๔ (๔ที่นั่ง) วงเงินงบประมาณ ๓๕๑,๐๐๐ บาท (สามแสนห้าหมื่นหนึ่งพันบาทถ้วน)
พ.ศ. ๒๕๕๘ ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน สปช.๑๐๕/๒๙ จำนวน ๑ หลัง วงเงินงบประมาณ ๓,๔๗๑,๑๐๐ บาท (สามล้านสี่แสนเจ็ดหมื่นหนึ่งพันบาทถ้วน)
พ.ศ. ๒๕๕๘ ได้รับงบประมาณซ่อมแซมเปลี่ยนฝ้าเพดาน อาคารเรียน สปช.๒/๒๒๘ วงเงินงบประมาณ ๖๐๐,๐๐๐ บาท (หกแสนบาทถ้วน)
พ.ศ. ๒๕๕๘ ได้รับงบประมาณก่อสร้างสนามกีฬา วงเงินงบประมาณ ๑๒๔,๕๐๐ บาท (หนึ่งแสนสองหมื่นสี่พันห้าร้อยบาทถ้วน)
พ.ศ. ๒๕๖๐ ได้รับงบประมาณปรับปรุงซ่อมแซมบ้านพักครู จำนวน ๑ หลัง วงเงินงบประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ บาท (สองแสนบาทถ้วน)
พ.ศ. ๒๕๖๑ ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน สปช.๑๐๕/๒๙ จำนวน ๑ หลัง วงเงินงบประมาณ ๒,๘๐๐,๐๐๐ บาท (สองล้านแปดหมื่นบาทถ้วน)
เมื่อปีการศึกษา ๒๕๔๒ ได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนอนุบาลเครือข่ายสหวิทยาเขตมหามงคลฉลองครบรอบ ๗๒ พรรษา องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชและได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนอนุบาลบ้านผือ” ตั้งแต่วันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นต้นมา ต่อมาคณะกรรมการ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4 มีมติให้ความเห็นชอบเปลี่ยนชื่อโรงเรียน เพื่อให้สอดคล้องกับชุมชนในเขตพื้นที่บริการของโรงเรียน และเป็นประโยชน์ในการจัดการศึกษา อันจะส่งผลให้เกิดความสามัคคี ความร่วมมือในการพัฒนาการศึกษามากยิ่งขึ้น เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนอนุบาลบ้านผือพิทยาภูมิ” ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2554 เป็นต้นมา และเปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษา ปีที่ ๖ จนถึงปัจจุบันมีชุมชนในเขตบริการจำนวน ๔ หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ ๑ บ้านหัวคู หมู่ที่ ๔ บ้านพลับ หมู่ที่ ๘ บ้านศรีสำราญ และหมู่ที่ ๑๐ บ้านศรีสะอาด นอกจากนักเรียนในเขตบริการแล้ว ยังได้บริการนักเรียนจากหมู่บ้านและตำบลอื่น ๆ ที่ใกล้เคียงอีกจำนวนหนึ่ง โรงเรียน ได้จัดบริการด้านการศึกษาและด้านอื่น ๆ มาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นด้านอาคารสถานที่ และวัสดุอุปกรณ์ หรือบุคลากร และร่วมงานกับชุมชน ในงานเทศกาลต่าง ๆ เช่น งานวันขึ้นปีใหม่ งานประเพณีวันสงกรานต์ งานบุญบั้งไฟ งานแห่เทียนเข้าพรรษางานประเพณีศาลเจ้าปู่ ย่า งานลอยกระทง และการให้บริการ สนามกีฬาแก่เยาวชนมาโดยตลอด
 รายนามผู้ที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียน
ลำดับที่ |
ชื่อ - สกุล |
ตำแหน่ง |
ระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง (พ.ศ.) |
๑ |
นายเวียน วรวิเศษ |
ครูใหญ่ |
๒๔๖๕ – ๒๔๖๖ |
๒ |
นายพวงเพชร ณ หนองคาย |
ครูใหญ่ |
๒๔๖๖ - ๒๔๗๗ |
๓ |
นายบุญถม จินดาวงษ์ |
ครูใหญ่ |
๒๔๗๗ - ๒๔๗๘ |
๔ |
นายสอน โพธิราชา |
ครูใหญ่ |
๒๔๗๘ - ๒๔๘๕ |
๕ |
นายพูน ชินพันธ์ |
ครูใหญ่ |
๒๔๘๕ - ๒๔๘๕ |
๖ |
นายประเสริฐ เจริญสุข |
ครูใหญ่ |
๒๔๘๕ - ๒๕๑๓ |
๗ |
นายอัมพร สิงหเดชะ |
ครูใหญ่ |
๒๕๑๓ – ๒๕๒๒ |
๘ |
นายวีระพันธ์ ผิวผ่อง |
ครูใหญ่ |
๒๕๒๒ – ๒๕๒๘ |
๙ |
นายสุรศักดิ์ ศรีสวัสดิ์ |
ครูใหญ่ |
๒๕๒๘ – ๒๕๔๐ |
๑๐ |
นายวิรัช วิชากุล |
ครูใหญ่ |
๒๕๔๐ – ๒๕๔๔ |
๑๑ |
นายกิติศักดิ์ สินธุศิริ |
ผู้อำนวยการสถานศึกษา |
๒๕๔๐ – ๒๕๔๔ |
๑๒ |
นายปัญญา อินทะวงษา |
ผู้อำนวยการสถานศึกษา |
๒๕๕๐ - ๒๕๖๑ |
๑๓ |
นายบุญประเสริฐ ไชยศิริ |
ผู้อำนวยการสถานศึกษา |
๒๕๖๑ - ปัจจุบัน |
|